สถิติผู้เข้าชม (Truehits)

ลักษณะทางระบาดวิทยาและปัจจัยเสี่ยงของการพบเชื้อ Salmonella spp. ในฟาร์มลักษณะทางระบาดวิทยาและปัจจัยเสี่ยงของการพบเชื้อ Salmonella spp. ในฟาร์มที่ได้รับการรับรองการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับไก่เนื้อและไก่พันธุ์ จังหวัดลพบุรี ปี 2563

บุษบา ถานอาดนา1 ชัชรี นิยโมสถ2

 

บทคัดย่อ

              การศึกษาลักษณะทางระบาดวิทยาและปัจจัยเสี่ยงของการพบเชื้อ Salmonella spp. ในฟาร์มที่ได้รับการรับรองการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับไก่เนื้อและไก่พันธุ์ จังหวัดลพบุรี ดำเนินการ ในช่วงเดือนธันวาคม 2562 - กันยายน 2563 โดยการเก็บตัวอย่างด้วย boot swab และมูลสัตว์ปีกในฟาร์มไก่เนื้อ 37 ฟาร์ม จำนวน 40 ตัวอย่าง และฟาร์มไก่พันธุ์ 49 ฟาร์ม จำนวน 203 ตัวอย่าง พร้อมกับทำแบบสอบถามเกษตรกรผู้เลี้ยง ทำการวิเคราะห์หาความชุกและปัจจัยเสี่ยง ของการพบเชื้อ Salmonella spp. ในฟาร์มด้วยวิธี univariable logistic regression โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชุกของเชื้อแซลโมเนลลา เพื่อนำมาอธิบายลักษณะทางระบาดวิทยาและหาปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องต่อการพบเชื้อแซลโมเนลลาในฟาร์ม ผลการศึกษาพบว่าความชุกการพบเชื้อ Salmonella spp.ในฟาร์มไก่เนื้อในระดับฟาร์ม มีค่าเท่ากับ 54.05%(20/37, 95%CI=36.92,70.51) โดยพบเชื้อในฟาร์มไก่เนื้อทุกอำเภอที่มีการเก็บตัวอย่างและพบมากที่สุดในฟาร์มที่มีขนาดเล็ก (จำนวนไก่น้อยกว่า 30,000 ตัว) ส่วนในฟาร์มไก่พันธุ์พบความชุกระดับฟาร์มมีค่าเท่ากับ 12.24% (6/49,95%CI= 4.63,24.77) โดยพบเชื้อในอำเภอที่มีการเลี้ยงไก่พันธุ์หนาแน่นในฟาร์มขนาดใหญ่เท่านั้น ในการศึกษาครั้งนี้ไม่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่มีนัยสำคัญต่อการพบเชื้อ Salmonella spp. ทั้งในฟาร์มไก่เนื้อและไก่พันธุ์ แต่พบว่าการจัดการฟาร์มและสุขลักษณะของคนเลี้ยงเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการพบเชื้อ Salmonella spp. ดังนั้นควรมีการเฝ้าระวังโดยการเก็บตัวอย่างที่ฟาร์มสัตว์ปีกอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง และให้องค์ความรู้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและผู้ประกอบการภาคเอกชนตลอดวงจรการผลิตการศึกษาลักษณะทางระบาดวิทยาและปัจจัยเสี่ยงของการพบเชื้อ Salmonella spp. ในฟาร์มที่ได้รับการรับรองการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับไก่เนื้อและไก่พันธุ์ จังหวัดลพบุรี ดำเนินการ ในช่วงเดือนธันวาคม 2562 - กันยายน 2563 โดยการเก็บตัวอย่างด้วย boot swab และมูลสัตว์ปีกในฟาร์มไก่เนื้อ 37 ฟาร์ม จำนวน 40 ตัวอย่าง และฟาร์มไก่พันธุ์ 49 ฟาร์ม จำนวน 203 ตัวอย่าง พร้อมกับทำแบบสอบถามเกษตรกรผู้เลี้ยง ทำการวิเคราะห์หาความชุกและปัจจัยเสี่ยง ของการพบเชื้อ Salmonella spp. ในฟาร์มด้วยวิธี univariable logistic regression โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชุกของเชื้อแซลโมเนลลา เพื่อนำมาอธิบายลักษณะทางระบาดวิทยาและหาปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องต่อการพบเชื้อแซลโมเนลลาในฟาร์ม ผลการศึกษาพบว่าความชุกการพบเชื้อ Salmonella spp.ในฟาร์มไก่เนื้อในระดับฟาร์ม มีค่าเท่ากับ 54.05%(20/37, 95%CI=36.92,70.51) โดยพบเชื้อในฟาร์มไก่เนื้อทุกอำเภอที่มีการเก็บตัวอย่างและพบมากที่สุดในฟาร์มที่มีขนาดเล็ก (จำนวนไก่น้อยกว่า 30,000 ตัว) ส่วนในฟาร์มไก่พันธุ์พบความชุกระดับฟาร์มมีค่าเท่ากับ 12.24% (6/49,95%CI= 4.63,24.77) โดยพบเชื้อในอำเภอที่มีการเลี้ยงไก่พันธุ์หนาแน่นในฟาร์มขนาดใหญ่เท่านั้น ในการศึกษาครั้งนี้ไม่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่มีนัยสำคัญต่อการพบเชื้อ Salmonella spp. ทั้งในฟาร์มไก่เนื้อและไก่พันธุ์ แต่พบว่าการจัดการฟาร์มและสุขลักษณะของคนเลี้ยงเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการพบเชื้อ Salmonella spp. ดังนั้นควรมีการเฝ้าระวังโดยการเก็บตัวอย่างที่ฟาร์มสัตว์ปีกอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง และให้องค์ความรู้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและผู้ประกอบการภาคเอกชนตลอดวงจรการผลิต

คำสำคัญ : แซลโมเนลลา ระบาดวิทยา ปัจจัยเสี่ยง ไก่เนื้อ ไก่พันธุ์คำสำคัญ : แซลโมเนลลา ระบาดวิทยา ปัจจัยเสี่ยง ไก่เนื้อ ไก่พันธุ์

ทะเบียนวิชาการเลขที่ : 64 (2) – 0116 (1) – 102

1 สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดลพบุรี อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี 15000

2 สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสระบุรี อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี 18000

ดาวน์โหลด [Fulltext]