สถิติผู้เข้าชม (Truehits)

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อสำรวจหาความชุกของเชื้อแซลโมเนลลาในฟาร์มไก่พันธุ์ ของจังหวัดลพบุรีและจำแนกกลุ่มของเชื้อแซลโมเนลลาที่ต้องควบคุมตามระเบียบกรมปศุสัตว์ว่าด้วย การควบคุมโรคแซลโมเนลลาสำหรับสัตว์ปีก พ.ศ.2552 กับเชื้อแซลโมเนลลากลุ่มอื่น ๆ โดยใช้วิธี ISO-6579 :2002 ในการตรวจวิเคราะห์หาเชื้อแซลโมเนลลา ดำเนินการระหว่างปี 2552 – 2555 มีผลการตรวจวิเคราะห์เชื้อเป็นดังนี้ ปี 2552 ตรวจพบเชื้อ Salmonella spp. รวม จำนวน 42 ตัวอย่าง จากทั้งหมด 302 ตัวอย่าง (ร้อยละ 13.91) ปี 2553 ตรวจพบเชื้อ Salmonella spp. รวม จำนวน 371 ตัวอย่าง จากทั้งหมด 7,969 ตัวอย่าง (ร้อยละ 4.66) ปี 2554 ตรวจพบเชื้อ Salmonella spp. รวม จำนวน 381 ตัวอย่าง จากทั้งหมด 9,143 ตัวอย่าง (ร้อยละ 4.17) และ ปี 2555 ตรวจพบเชื้อ Salmonella spp. รวม จำนวน 302 ตัวอย่าง จากทั้งหมด 7,605 ตัวอย่าง (ร้อยละ3.97) และเมื่อวิเคราะห์แยกตามกลุ่มของ เชื้อแซลโมเนลลาที่ต้องควบคุมตามระเบียบกรมปศุสัตว์ ว่าด้วยการควบคุมโรคแซลโมเนลลาสำหรับสัตว์ปีก พ.ศ.2552 กลุ่มของเชื้อแซลโมเนลลากลุ่มอื่น ๆ และกลุ่มที่ตรวจไม่พบเชื้อแซลโมเนลลา มีค่าร้อยละ ความชุกเป็น (1.99, 11.92 และ 86.09), (0.10, 4.56 และ 95.34), (0.02, 4.15 และ 95.83) และ (0.00, 3.97 และ 96.03) ตามลำดับ ปี 2552 - 2555 ซึ่งพบว่าร้อยละความชุกของเชื้อ Salmonella spp. รวมมีแนวโน้มลดลงเป็นลำดับเป็นเพราะกรมปศุสัตว์นำระเบียบกรมปศุสัตว์ว่าด้วยการควบคุม โรคแซลโมเนลลาสำหรับสัตว์ปีก พ.ศ.2552 และหลักปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มไก่พันธุ์ รวมถึงมาตรการต่าง ๆ ที่ฟาร์มไก่พันธุ์มาตรฐานนำใช้ในการควบคุมเชื้อ Salmonella spp. นั้นประสบความสำเร็จ ทำให้สามารถปกป้องและสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารของผู้บริโภคทั้งในประเทศ และต่างประเทศ

คำสำคัญ: ความชุกของเชื้อ โรคแซลโมเนลโลซิส เชื้อแซลโมเนลลา ฟาร์มไก่พันธุ์

ทะเบียนผลงานวิชาการลำดับที่: 57(2)-0316(1)-070

  1. สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดลพบุรี อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี 15000
  2. สำนักงานปศุสัตว์กรุงเทพมหานคร เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700

 

ดาวน์โหลด [Fulltext]