สถิติผู้เข้าชม (Truehits)

จังหวัดลพบุรี จัดประชุมเตรียมความพร้อมรับมือโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร วันที่ 25 มีนาคม 2562 นายผดุงศักดิ์ หาญปรีชาสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (War room) จังหวัดลพบุรี ครั้งที่ 1/2562 ณ ห้องประชุมสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดลพบุรี โดยมีปศุสัตว์จังหวัดลพบุรี ประชาสัมพันธ์จังหวัดลพบุรี หัวหน้าด่านกักกันสัตว์ลพบุรี ปศุสัตว์อำเภอ ผู้แทนหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการที่เลี้ยงสุกรในจังหวัดลพบุรีรวมทั้งสื่อมวลชนเข้าร่วมประชุมเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเผชิญเหตุ หากเกิดการระบาดของโรค และเพื่อระดมความคิดเห็นและประสบการณ์ นำไปสู่แผนเตรียมความพร้อมรับมือโรค อหิวาต์แอฟริกาในสุกรของจังหวัดลพบุรี ที่ปฏิบัติได้จริงและป้องกันควบคุมโรคได้
                         กรมปศุสัตว์ได้รายงานความคืบหน้าการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร(African Swine Fever : ASF )ว่าประเทศไทยไม่มีการแพร่ระบาดของโรคนี้และยืนยันว่าโรคนี้เกิดเฉพาะในสุกรเท่านั้น ไม่ติดต่อหรือเป็นอันตรายต่อคนหรือสัตว์อื่น ผู้บริโภคสามารถรับประทานหมูได้อย่างปลอดภัย 100 เปอร์เซนต์
สำหรับจังหวัดลพบุรีมีการเลี้ยงสุกรทั้งหมดจำนวน 507,093 ตัว ถือว่ามีการเลี้ยงสุกรมากเป็นอันดับสามของประเทศ มีจำนวนฟาร์มสุกรที่ได้รับรองมาตรฐานฟาร์มจำนวน 245 ฟาร์ม(สุกร437,417 ตัว  :คิดเป็น 86.25 เปอร์เซนต์ของสุกรทั้งหมดของจังหวัดลพบุรี) มีโรงฆ่าสุกรเพื่อการส่งออกจำนวน 1 แห่ง
นายผดุงศักดิ์ หาญปรีชาสวัสดิ์ ได้มอบนโยบาย ในการเตรียมความพร้อมรับมือโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรของจังหวัดลพบุรี โดยเน้นย้ำ 4 ประเด็น ดังนี้ การสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรให้ประชาชนเพื่อวางมาตรการลงสู่ส่วนท้องถิ่นและส่วนราชการรับทราบ การให้ความรู้ เกี่ยวกับโรค อหิวาต์แอฟริกาในสุกรแก่เกษตรกร ผู้เลี้ยงสุกร โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อย เข้มงวดการเฝ้าระวังโรค โดย เจ้าหน้าที่อาสาปศุสัตว์ และการสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคนอกจากนี้ได้เน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนระดมความคิดเห็น จัดทำคู่มือมาตรการเตรียมความพร้อมรับมือโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรของจังหวัดลพบุรี เพื่อนำไปสู่การซักซ้อมแผนให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติสามารถปฏิบัติงานได้มีประสิทธิภาพโดยจะมีการประชุมติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรเกิดประสิทธิภาพต่อไป

 

25 03 62 001 25 03 62 002
25 03 62 004 25 03 62 003
25 03 62 005 25 03 62 006