สถิติผู้เข้าชม (Truehits)

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาเปรียบเทียบการใช้และไม่ใช้น้ำนมหมักจุลินทรีย์ ในฟาร์มโคนม ต่อผลผลิตน้ำนมดิบ ปริมาณอาหารที่กินได้ และคุณภาพน้ำนมดิบในฟาร์มโคนมของเกษตรกรที่มีระบบการจัดการการเลี้ยงที่เหมือนกัน โดยแบ่งฟาร์มโคนมออกเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 10 ฟาร์ม ระยะเวลาการศึกษาระหว่างเดือน มกราคม – มิถุนายน ในปี 2556 โดยออกแบบการจัดเก็บข้อมูลตามหัวข้อที่ต้องการศึกษา 3 หัวข้อ ประกอบด้วย ข้อมูลปริมาณน้ำนมดิบเฉลี่ย ปริมาณอาหารที่กินได้เฉลี่ยและคุณภาพน้ำนมดิบเฉลี่ย

จากการศึกษาพบว่า กลุ่มที่ 1ฟาร์มโคนมกลุ่มที่ใช้น้ำนมหมักจุลินทรีย์เสริมในการเลี้ยงโคนมมีค่าเฉลี่ย ของปริมาณาน้ำนมดิบ และปริมาณอาหารที่กินได้มากกว่า กลุ่มที่ 2 ฟาร์มโคนมกลุ่มที่ไม่ใช้น้ำนมหมักจุลินทรีย์เสริมในการเลี้ยงโคนม (ปริมาณน้ำนมดิบเฉลี่ย12.66±2.51และ11.26±1.72 กิโลกรัมต่อตัวต่อวัน ตามลำดับ ปริมาณอาหารทั้งหมดที่กินได้เฉลี่ย 13.46±1.43 และ 11.53±1.73 กิโลกรัมต่อตัวต่อวัน ตามลำดับ) แต่คุณภาพน้ำนมดิบเฉลี่ยในด้านไขมัน โปรตีน น้ำตาล ของแข็งไม่รวมไขมัน และของแข็งรวมทั้งหมด ของฟาร์มโคนมกลุ่มที่ใช้น้ำนมหมักจุลินทร์เสริม ในการเลี้ยงโคนม มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่า กลุ่มที่ 2 ฟาร์มโคนมกลุ่มที่ไม่ใช้น้ำนมหมักจุลินทรีย์เสริมในการเลี้ยงโคนม (ไขมันเฉลี่ย 3.10±0.27 และ 3.24±0.17 เปอร์เซ็นต์ โปรตีนเฉลี่ย 2.73±0.23 และ 2.87±0.08 เปอร์เซ็นต์ น้ำตาลเฉลี่ย 4.49±0.32 และ 4.59±0.14 เปอร์เซ็น ของแข็งไม่รวมไขมันเฉลี่ย 7.91±0.54 และ 8.16±0.12 เปอร์เซ็นต์ และของแข็งรวมทั้งหมดเฉลี่ย 11.02±0.77 และ 11.40±0.15 เปอร์เซ็นต์ ในระดับที่ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) ยกเว้นค่าจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (321,400±117,940 เซลล์/น้ำนม 1 มิลลิลิตร และ 801,400±273,940 เซลล์/น้ำนม 1 มิลลิลิตร) สรุป ผลการศึกษาพบว่า ฟาร์มโคนมกลุ่มที่ใช้น้ำนมหมักจุลินทรีย์เสริมในการเลี้ยงโคนมทำให้ค่าจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวน้อยลง ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีกว่า โคนมกลุ่มที่ไม่ใช้น้ำนมหมักจุลินทรีย์เสริมในการเลี้ยงโคนม

คำสำคัญ : น้ำนมหมักจุลินทรีย์ , โคนม

ทะเบียนวิชาการเลขที่: 60(2)-0216(1)-079

  1. สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดลพบุรี
  2. สำนักงานปศุสัตว์เขต

ดาวน์โหลด [Fulltext]